Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาและอำนาจหน้าที่ อบต.
โครงสร้างส่วนราชการ
สถานะการคลัง/งบประมาณ
แผนพัฒนาท้องถิ่น
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
กองสวัสดิการสังคม
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2565
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติ
รายงานการประชุมสภา
การเงิน-การคลัง
ราคากลาง
แผนการจัดหาพัสดุ
แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
งบแสดงฐานะการเงิน
แผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ผลการดำเนินงานรายไตรมาส
ผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน
รายงานการรับจ่ายเงินประจำปี
ความรู้เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม
คู่มือประชาชน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา

     องค์การบริหารส่วนตำบลระเว ได้ดำเนินการกำหนดนโยบาย(Policy) และแนวทางการพัฒนาของตำบลระเวไว้ (จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคมนาคม และแหล่งน้ำเพื่อการบริโภค-อุปโภค
     แนวทางการพัฒนา

          1) ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนและท่อระบายน้ำ
          2) พัฒนาระบบการคมนาคม และระบบจราจร
          3) ขยายเขตไฟฟ้าและติดตั้งชุดโคมไฟฟ้าสาธารณะให้ทั่วถึง
          4) ก่อสร้าง ปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อการบริโภค-อุปโภค และการเกษตร
          5) การวางผังใช้พื้นที่สาธารณะและผังพื้นที่ตำบล

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม การศึกษา และสาธารณสุข
     แนวทางการพัฒนา

          1) ส่งเสริมกิจกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
          2) การควบคุมและระงับโรคติดต่อต่าง ๆ
          3) สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาของเด็ก, เยาวชนและประชาชน
          4) สนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
          5) สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการกีฬา และนันทนาการ
          6) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
          7) การสังคมสงเคราะห์และฝึกอาชีพฯ ให้อาชีพฯ ให้คนยากจน, คนพิการ, เด็ก, ผู้สูงอายุและผู้ติดเชื้อเอดส์
          8) ส่งเสริมประเพณีอันดีงาม, กิจกรรมศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น

3. ยุทธศาสตร์การป้องกัน, บรรเทาสาธารณะภัยและสิ่งแวดล้อม
     แนวทางการพัฒนา

          1) จัดหาครุภัณฑ์, วัสดุ, อุปกรณ์ และเตรียมบุคลากรเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย
          2) การอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและป่าไม้
          3) การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
     แนวทางการพัฒนา

          1) การส่งเสริมประกอบอาชีพและยกระดับรายได้
          2) การปรับปรุงอาคารและบริเวณตลาดชุมชน
          3) สนับสนุนและส่งเสริมการรวมกลุ่ม เพื่อดำเนินธุรกิจชุมชน
          4) สนับสนุนเครื่องจักร, วัสดุ, อุปกรณ์ของกลุ่มอาชีพฯ
          5) การอบรมให้ความรู้ให้กลุ่มอาชีพฯ

5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น
     แนวทางการพัฒนา

          1) การพัฒนาส่งเสริม สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีให้แก่ ประชาชน
          2) ดำเนินการจัดกิจกรรมงานประเพณีต่างๆ
          3) ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนงานประเพณี ศาสนา วัฒนธรรม อันดีงามของท้องถิ่นอำเภอ จังหวัด

6. ยุทธศาสตร์พัฒนาการบริหารงานและการจัดการบ้านเมืองที่ดี
     แนวทางการพัฒนา

          1) ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงาน อบต. และการมีส่วนร่วมของประชาชน
          2) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย และจริยธรรมในการ ปฏิบัติงาน
          3) การพัฒนารายได้และการจัดทำทะเบียนแผนที่ภาษี
          4) ปรับปรุงอาคารสถานที่และบริเวณในและนอกสำนักงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่องานต่างๆ
          5) จัดทำศูนย์ข้อมูลข่าวสารและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้ประชาชนทราบ
          6) ปรับปรุงและจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอและเกิดประสิทธิภาพ
          7) นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับปรุง แก้ไขการปฏิบัติงาน เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็วให้แก่ผู้มาติดต่อราชการ

อำนาจหน้าที่ อบต.

 
  • อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)
  1. 1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
    2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
    1. 2.1 จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
      2.2 การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
      2.3 ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
      2.4 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
      2.5 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
      2.6 ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
      2.7 คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      2.8 บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
      2.9 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย

    3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
    1. 3.1 ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
      3.2 ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
      3.3 ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
      3.4 ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
      3.5 ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
      3.6 ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
      3.7 บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
      3.8 การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
      3.9 หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
      3.10 ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
      3.11 กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
      3.12 การท่องเที่ยว
      3.13 การผังเมือง
  • - อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควร ในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ นำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย
    - เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ
    - องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
    - ในส่วนของการบริหารงานนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลมีการจัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และส่วนต่าง ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ตั้งขึ้น โดยมีพนักงานส่วนตำบลเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตได้ตามความจำเป็น และในกรณีที่เป็นข้าราชการซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับหน่วยงานต้นสังกัดก่อนแต่งตั้ง
    - นอกจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหรือร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน
อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้
  1. 1 การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
    2 การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
    3 การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
    4 การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
    5 การสาธารณูปการ
    6 การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
    7 คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
    8 การส่งเสริมการท่องเที่ยว
    9 การจัดการศึกษา
    10 การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
    11 การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
    12 การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
    13 การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
    14 การส่งเสริมกีฬา
    15 การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
    16 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
    17 การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    18 การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
    19 การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
    20 การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
    21 การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
    22 การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์
    23 การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
    24 การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    25 การผังเมือง
    26 การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
    27 การดูแลรักษาที่สาธารณะ
    28 การควบคุมอาคาร
    29 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    30 การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
    31 กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด


องค์การบริหารส่วนตำบลระเว
หมู่ที่ 1 ตำบลระเว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34110
โทรศัพท์ : 0-4525-2731 โทรสาร : 0-4525-2732 อีเมล์ : rawe3509@gmail.com

www.rawe.go.th